วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปัจจัยคุกคามสุขภาพ การเจ็บป่วยและบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน พฤติกรรมการทำงานของแรงงานนอกระบบ : กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

Occupational Health Hazards, Work-Related Illness and Injury, Work Behaviors among Informal Workforce : Case Study in Baby Corn Planting Farmer Group
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์*, ธานี แก้วธรรมานุกูล*
*คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Chawapornpan Chanprasit, Thanee Kaewthummanukul
*Faculty of Nursing Chiang Mai University

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพ การเจ็บป่วยและบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน รวมทั้งพฤติกรรมการทำงานในแรงงานนอกระบบเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

กลุ่มตัวอย่าง : ขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อนอย่างน้อย 116 คน คัดเลือดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดได้กลุ่มตัวอย่าง 130 คน

การเก็บข้อมูล : รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาและทดสอบความเชื่อมั่น

ผลการศึกษา :
1. การสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เด่นชัด ได้แก่ ด้านการยศาสตร์และด้านเคมี
2. ส่วนสภาพการทำงานที่สำคัญ คือ การทำงานกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ของมีคม
3. การเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานที่พบในสัดส่วนที่สูง คือ อาการปวดศีรษะและปวดระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ
ขณะที่การบาดเจ็บในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่าหนึ่งในสามส่วนพฤติกรรมการทำงาน ส่วนใหญ่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล แต่ทุกคนไม่มีการสวมปลั๊กอุดหูขณะใช้รถไถแปลงข้าวโพด กว่าหนึ่งในสี่ยังมีการใช้รถไถที่ไม่มีการใช้รถไถที่ไม่มีเครื่องป้องกันส่วนที่เป็นอันตรายและเกือบหนึ่งในสามของเกษตรกรยังคงเข้าไปในแปลงข้าวโพดฝักอ่อนในระยะ 3 วันหลังพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทีมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการริเริ่มดำเนินการจัดบริการด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมสร้างเสริมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับแรงงานนอกระบบกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อน พัฒนาโปรแกรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงในการทำงาน โปรแกรมที่ควรพัฒนาในลำดับแรกคือ โปรแกรมด้านการยศาสตร์ และการสื่อสารความเสี่ยงด้านสารเคมี โปรแกรมดังกล่าวควรมีกิจกรรมสำคัญครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้
          1. การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของปัจจัยคุกคามสุขภาพโดยเฉพาะด้านการยศาสตร์และเคมีเป็นการเสริมสร้างความตระหนักในปัจจัยคุกคามสุขภาพและความเสี่ยงในการทำงาน คงไว้ซึ่งสภาพการทำงานที่ปลอดภัย
          2. การสื่อสารความเสี่ยง (risk communication) โดยการประสารความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการอบรมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ร่วมกับการจัดระบบการทำงานที่เป็นไปได้ในส่วนของปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์
          ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมีเน้นการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อป้องกันพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อภาวะสุขภาพ
          3. การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าข้อมูลการบาดเจ็บจากการทำงานของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อน เป็นการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง แต่ข้อมูลการเจ็บป่วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อาจเป็นการบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องจากงาน จึงควรให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังสุขภาพร่วมกับการพัฒนาระบบการรายงานการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประมวลข้อมูลด้านสุขภาพของแรงงานนอกระบบ เป็นพื้นฐานการพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพต่อไป

คำสำคัญ : ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน การเจ็บป่วยและบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานพฤติกรรมการทำงาน แรงงานนอกระบบ กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

Credit : วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2553