วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การบาดเจ็บซ้ำซากในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี

Repetitive Strain Injuries among Workers of the Stone Sculpture Industry, Chonburi Province

วัชรากร เรียบร้อย (1) และสุนิสา ชายเกลี้ยง (2)
Watcharakorn Riabroi (1) and Sunisa Chaiklieng (2)
 (1) ผู้นิพนธ์หลัก : นักศึกษาหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (โทรศัพท์ : 081-1693883 , E-mail address: riabroi.w@hotmail.com)
(2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น
(1) Corresponding author : Master student of Faculty of Public Health, Khon Kaen University
(Tel.081‐1693883 , E‐mail address : riabroi.w@hotmail.com)

(2) Assistant Professor, Department of Environmental Health Science, Faculty of Public Health, Khon Kaen University

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราความชุกและความรุนแรงของ RSIs ในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี จำนวน 82 คน

กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี จำนวน 82 คน

การเก็บข้อมูล : โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสังเกตการณ์ทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายคุณลักษณะประชากร และสภาพแวดล้อมการทำงาน และแสดงค่าอัตราความชุกกับช่วงความเชื่อมั่นที่ 95%

ผลการวิจัย :
1. พนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหินส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.6 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 40.2 (Mean=40.8, S.D.=8.8) อายุการทำงาน 6-10 ปี ร้อยละ 32.9 (Median=14, Min=1, Max=40)
2. ด้านลักษณะงาน : พบว่า ส่วนใหญ่เป็นงานทำครก (ร้อยละ 79.3) และปฏิบัติงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน ร้อยละ 79.3 (Median=8, Min=8, Max=12)
3. ด้านสภาพแวดล้อม : พบว่า ระดับหน้างานต่ำกว่าข้อศอก (ร้อยละ 78.1) ทำงานซ้ำซาก (ร้อยละ 85.4) ต้องใช้สายตาเพ่งชิ้นงาน (ร้อยละ 87.8) โดยพบว่า มีสิ่งแวดล้อมการทำงาน คือ ฝุ่นละออง/สารเคมี และอากาศร้อนอบอ้าว แสงสว่างไม่เพียงพอ และสัมผัสแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องมือ คือ ค้อน และเครื่องเจียร ร้อยละ 96.3 และร้อยละ 65.9 ตามลำดับ โดยน้ำหนักหินที่ยกเฉลี่ยต่อครั้ง >10 กิโลกรัม ร้อยละ 47.9 ( Median=9, Min=3, Max=20)
4. ความชุกของ RSIs :
พิจารณาทุกตำแหน่ง ในรอบ 7 วัน และ 6 เดือน ที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 37.8 (95%CI=27.32–49.19) และร้อยละ 51.2 (95%CI=39.92– 62.42) ตามลำดับ
ตำแหน่งที่มีระดับความชุกของ RSIs สูงสุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 26.2) มือ/ข้อมือ (ร้อยละ 20.2) และไหล่ (ร้อยละ 13.7)
โดยตำแหน่งที่มีอาการ ปวดรุนแรงตั้งแต่ระดับมากขึ้นไปสูงสุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 19.5) รองลงมามือ/ข้อมือ (ร้อยละ 11.0) และแขนท่อนบน (ร้อยละ 7.3)
ส่วนความถี่ของการมีอาการปวดตั้งแต่บ่อยครั้งขึ้นไปสูงสุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง รองลงมามือ/ข้อมือ และ ไหล่ ร้อยละ 31.7, 17.1 และ 9.8 ตามลำดับ

คำสำคัญ: การบาดเจ็บซ้ำซาก, พนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน, ความชุก

Credit : วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน ธันวาคม 2554