วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานด้วยหลักพฤติกรรมความปลอดภัย กรณีศึกษา โรงงานผลิตอะไหล่และประกอบนาฬิกา

Reduction of Risk Behavior for Operators by Using Behavior Based Safety (BBS) Technique: A Case Study of Watch-Part Manufacturing and Assembly Factory

ศิริพร เข็มทอง สิทธิพร พิมพ์สกุล

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วัตถุประสงค์ : เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ด้วยหลักพฤติกรรมความปลอดภัยในแผนกประกอบชิ้นส่วนย่อยของโรงงานผลิตอะไหล่และประกอบนาฬิกา

กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานที่ปฏิบัติงานในแผนกซึ่งมีจำนวน 43 คน

วิธีการ :
1. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงานอย่างปลอดภัย
2. นำหลักพฤติกรรมความปลอดภัยมาใช้กับพนักงานในแผนกดังกล่าว
3. หัวหน้างานและตัวแทนแผนกจะดำเนินการกำหนดพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมายโดยพิจารณาจากตัวเลขประเมินลำดับก่อนหลังของความเสี่ยง
4. ผู้วิจัยได้ทำการฝึกอบรมเรื่องหลักพฤติกรรมความปลอดภัย การสังเกตพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมาย และการดำเนินงานและการติดตามผลให้แก่หัวหน้างานและตัวแทนแผนก

ผลการศึกษา :
พนักงานในแผนกตัวอย่างสามารถปฏิบัติตามพฤติกรรมปลอดภัยเป้าหมาย เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ครบ 100% ภายใน 14 สัปดาห์
ผลการประเมินจากแบบสอบถามเพื่อวัดระดับทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงานอย่างปลอดภัยของพนักงานพบว่าอยู่ในระดับดีโดยมีการปรับปรุงจาก 83.7% เป็น 100.0% และ 69.8% เป็น 100.0% ตามลำดับ

คำสำคัญ : หลักพฤติกรรมความปลอดภัย, ตัวเลขประเมินลำดับก่อนหลังของความเสี่ยง, อุบัติเหตุ, ทัศนคติ, พฤติกรรม

Credit : วิศวสารลาดกระบัง ปีที่ 28 ฉบับ ที่ 1 มีนาคม 2554