The
Comparison of Ergonomics posture assessment methods I industry Chiang Mai
Province
นิวิท
เจริญใจ1 ชัยยุทธ วงศ์อัจฉริยา2
วันวิสา ติ๊บแก้ว3 ปาริชาต
พีระเชื้อ4
E-mail:
nivit@chiangmai.ac.th*
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200
Nivit
Charoenchai1 Chaiyuth Wongs-utshariya2 Wanwisa Tipkaew3
Parichart Peerachur4
Department
of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiang Mai University,
Chiang
Mai 50200
E-mail:
nivit@chiangmai.ac.th*
วัตถุประสงค์ :
1. ศึกษาท่าทางการทำงานของแรงงานไทยในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
2. ตรวจสอบว่าวิธีการประเมินท่าทางในการทำงานโดยวิธี
OWAS, RULA และ Strain Index สามารถใช้ได้กับแรงงานไทยหรือไม่
3. เพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม
และเสนอแนวทางการแก้ไข
4. เพื่อตรวจสอบว่าผลการประเมินท่าทางในการทำงานโดยวิธี
Posture Analysis และ Strain Index ให้ผลลัพธ์สอดคล้องกันหรือแย้งกันอย่างไร
กลุ่มตัวอย่าง : คนงานมีภาระทางการยศาสตร์สูง เช่น
มีท่าทางการทำงานที่เคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง การทำงานซ้ำซาก ผิดธรรมชาติ
หรืองานที่ใช้แรงมากจำนวน 5 โรงงาน ประกอบด้วย โรงงานเซรามิก
โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ 2 โรงงาน โรงงานทำอิฐ
และโรงงานทำน้ำแข็ง
การเก็บข้อมูล : เก็บข้อมูลโดยการถ่ายวีดีโอ และทำการประเมินท่าทางการทำงาน
วิธีการศึกษา : เลือกทำการศึกษาท่าทางการทำงานจำนวน 10 ท่าทางต่อหนึ่งโรงงาน
โดยวิธีการยศาสตร์ 3 วิธี คือ OWAS (Ovako Working
Posture Analysis System), RULA (Rapid Upper Limb Assessment) และ
The Strain Index (SI) แล้วทำการเปรียบเทียบและสรุปผลการประเมินท่าทางการทำงาน
ผลการศึกษา
: ผลจากการประเมินท่าทางการทำงานด้วยวิธี
OWAS RULA และ Strain Index มีความสอดคล้องกัน
และจากการประเมินท่าทางการทำงานของ 5 โรงงานทำอิฐ พบว่า
โรงงานเซรามิก โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ และโรงงานทำอิฐ มีท่าทางการทำงานส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูงมาก
สำหรับ โรงงานทำน้ำแข็ง มีท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงเช่นกัน
แต่อยู่ในระดับรองลงมา
ข้อเสนอแนะ
: โรงงานเซรามิก
โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ และโรงงานทำอิฐ ควรมีการแก้ไขวิธีการทำงาน
หรือลักษณะท่าทางการทำงานโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และสำหรับ
โรงงานทำน้ำแข็ง มีท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงเช่นกัน
แต่อยู่ในระดับรองลงมาโดยควรมีการแก้ไขวิธีการทำงาน
หรือลักษณะท่าทางการทำงานโดยเร็วในอนาคตอันใกล้ สำหรับโรงงานทำน้ำแข็ง
ควรมีการแก้ไขวิธีการทำงาน หรือลักษณะท่าทางการทำงานโดยเร็วในอนาคตอันใกล้
คำสำคัญ : การประเมินท่าทางการทำงาน, OWAS, RULA, Strain Index
Credit : การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 24-26 ตุลาคม 2550