Prevalence and
ergonomic risk factors of low back pain among solid waste collectors of local
administrative organizations in Nong Bua Lam
Phu province.
สุนิสา
ชายเกลี้ยง1,4*, พีรพงษ์ จันทราเทพ2,
พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ3, รุ้งทิพย์
พันธุเมธากุล4
Sunisa Chaiklieng1,4* , Peerapong Juntratep2 , Pornnapa Suggaravetsiri3 , Rungthip Puntumetakul4
1ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม และ 3ภาควิชาระบาดวิทยา
คณะสาธารณสุขศาสตร์
2กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลนากลาง อำเภอนากลาง
จังหวัดหนองบัวลำภู
4กลุ่มวิจัยปวดหลัง ปวดคอ และปวดข้ออื่นๆ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*ผู้รับผิดชอบบทความ
1Department
of Environmental Health Sciences and 3Department of Epidemiology Faculty
of Public Health,
2Naklang
municipality, Naklang district, Nong Bua Lam Phu Province.
4Back,
Neck and Joint Pain Research Group, Khon Kaen University
*Corresponding
author: (e-mail: csunis@kku.ac.th)
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของการปวดหลังและปัจจัยเสี่ยงที่มีสัมพันธ์ กับการปวดหลังในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู
กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภูจำนวน 160 คน
วิธีการ : เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน
สถิติเชิงพรรณนาใช้อธิบายคุณลักษณะทั่วไปของประชากร การทำงาน และความชุก
สถิติเชิงอนุมานใช้วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปวดหลังส่วนล่างคือ Chi-squared
test และ Multiple logistic regression analysis นำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odds ratio (OR) และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ
95 (95 % CI) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย : พบความชุกของการปวดหลังส่วนล่างในรอบ 7
วันที่ผ่านมาและในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 62.50
(95% CI = 54.51 – 70.01) และร้อยละ 77.50 (95% CI = 70.23 –
83.71) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แบบพหุลอจิสติก
พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <
0.05) คือ อายุการทำงานตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป (OR
= 3.37, 95 % CI =1.11 – 10.17) การไม่หยุดพักระหว่างปฏิบัติงาน (OR
= 10.19, 95 % CI = 3.09 – 33.55) จำนวนครั้งที่ยกมากกว่า 150 ครั้งต่อวัน (OR = 5.14,95 % CI = 1.54 – 17.05) การทำงาน
7 วันต่อสัปดาห์ (OR = 5.10, 95 % CI = 1.53 – 16.96)
และการประคองถังขยะระหว่างยกห่างลำตัว (OR = 3.07, 95 % CI =
1.04 – 9.06) พบปัจจัยเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงาน
เสนอแนะ : จึงให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการปรับปรุงลักษณะการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ในการทำงานของพนักงาน
การอบรมพนักงานด้านท่าทางการยกและเคลื่อนย้ายถังขยะที่ถูกวิธีและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่พนักงาน
เพื่อป้องกันการปวดหลังส่วนล่างที่เกิดจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะต่อไป
คำสำคัญ: ความชุก,
การปวดหลังส่วนล่าง, พนักงานเก็บขนขยะ,
การยศาสตร์
Credit : วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด
• ปีที่ 24 ฉบับที่
1 • มกราคม-เมษายน 2555