Prevalence and
Related Factors Affecting Musculoskeletal Disorders
(MSDs) in Notebook
Computer Users: A case study of Engineering
Students, Prince
of Songkla University, Hat Yai Campus
กลางเดือน
โพชนา* องุ่น
สังขพงศ์*
Klangduen Pochana*
Angoon Sungkhapong*
* ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
* Department of Industrial Engineering, Faculty of
Engineering, Prince of Songkla University
วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (MSDs) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ
MSDs ของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
กลุ่มตัวอย่าง : นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 316 คน
วิธีการ : การสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะการใช้งาน และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยวิธี
Chi-Square และ Odds ratio
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 69 และเพศหญิง ร้อยละ
31 อายุ 20.7+0.95 ปี ส่วนสูง
168.4+8.2 ซม. น้ำหนัก 61.5+11.9 กก. ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในช่วงเวลากลางคืน
(ร้อยละ 92.4) ระหว่างการใช้งานไม่ใช้แป้นพิมพ์ต่อพ่วง
(ร้อยละ 66.5) ไม่ใช้ที่พักเท้า (ร้อยละ 86.1) และ ไม่ใช้ที่รองข้อมือ(ร้อยละ 58.5) อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนใหญ่ใช้เม้าส์ต่อพ่วงภายนอก
(ร้อยละ 75.6) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.5
มีอาการปวดเมื่อยบางส่วนของร่างกาย โดยพบว่ามีอาการปวดเมื่อยมากที่สุด
3 ลำดับแรก ได้แก่ คอ (52.2%, 95% CI: 46.8-57.8), หลังส่วนล่าง (39.9%, 95% CI: 34.5-45.3) และ ไหล่
(32.6%, 95% CI: 27.5-37.8)
ผลของการศึกษาพบว่า ปัจจัยเพศ
ช่วงเวลาที่ใช้งาน การใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกและ ขนาดของหน้าจอมีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกายของผู้ใช้งาน
โดยพบปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ผู้ที่ใช้งานโน้ตบุ๊กในตอนกลางคืนจะมีความเสี่ยงในการปวดเมื่อยโดยรวม
มากกว่าผู้ใช้งานกลางวัน ถึง 2.53 เท่าและมีความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนบน
มากกว่า ผู้ใช้งานกลางวัน ถึง 8.53 เท่า
เสนอแนะ : จากผลของการศึกษาสามารถเสนอแนะได้ว่าผู้ใช้งานควรลดเวลาการใช้งานในช่วงกลางคืนควรมีการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วง
เช่น แป้นพิมพ์ เม้าส์ เป็นต้น และควรเลือกใช้โน้ตบุ๊กที่มีขนาดเหมาะสมจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ใช้ได้
คำสำคัญ: ความชุก อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
คำสำคัญ: ความชุก อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
Credit : วารสารสาธารณสุขศาสตร์
2557; 44(2): 162-173
ที่มา : http://www.ph.mahidol.ac.th/journal/44_2/index.html