Workstation
Improvement for Risk Reduction of Muscular Fatigue Among Production Workers in
Tuna Manufacturing Process: A Case Study of a Seafood Processing Factory
องุ่น
สังขพงศ์1* กลางเดือน โพชนา1 และ วรพล
เอื้อสุจริตวงศ์2
Angoon
Sungkhapong1* Klangduen Pochana2 and Worapon Auesujaridwong2
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2 นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
* ผู้นิพนธ์ประสานงาน โทรศัพท์ 0-7428-7111 อีเมล: angoon.s@psu.ac.th
1
Assistant Professor, Department of Industrial Engineering, Faculty of
Engineering, Prince of Songkla University.
2
Student, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Prince
of Songkla University.
*
Corresponding Author, Tel. 0-7428-7111, E-mail: angoon.s@psu.ac.th
วัตถุประสงค์ :
เพื่อปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาจากกระบวนการผลิตปลาทูน่าเพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงาน
วิธีการ :
1) การสำรวจอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงานของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่าด้วยแบบสำรวจสุขภาพเบื้องต้น
2) การวัดขนาดสัดส่วนร่างกายของแรงงาน
3) การประเมินผลกระทบทางกายภาพต่อร่างกายในสภาพการปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุงเพื่อเปรียบเทียบผลทางสถิติด้วยคะแนนท่าทางการทำงานด้วย
RULA แรงกดและแรงเฉือนต่อหมอนรองกระดูก L5/S1 และค่าสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้วย EMG
ผลการศึกษา :
ผลสำรวจสุขภาพแรงงานซึ่งพบว่าแรงงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาเกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ
92
โดยตำแหน่งบนร่างกายซึ่งเกิดอาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่
ตำแหน่งหัวไหล่ซ้ายและขวาตำแหน่งสะโพก
ตำแหน่งหลังส่วนล่างและตำแหน่งขาส่วนล่างซ้ายและขวาหลัง
จากนำเสนอแนวทางปรับปรุงสภาพการ
ปฏิบัติงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาเป็นการปฏิบัติงานแบบงานนั่งด้วยการสร้างเก้าอี้และชั้นวางถาด
พร้อมกับประเมินผลกระทบทางกายภาพต่อร่างกายของแรงงานในสภาพการปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุง
ซึ่งพบว่าคะแนนการประเมิน ท่าทางการทำงานด้วย RULA มีคะแนนเฉลี่ยลดลง
ผลการวิเคราะห์แรงกดและแรงเฉือนตรงบริเวณหมอนรองกระดูก L5/S1
นั้นมีค่าของแรงกดและแรงเฉือนลดลง
สุดท้ายคือ ผลการประเมิน
ค่าสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้วยค่าความถี่เฉลี่ยของกล้ามเนื้อ Erector
Spinae กล้ามเนื้อTrapezius และกล้ามเนื้อ Anterior
Deltoid นั้นพบว่าค่าความถี่เฉลี่ยของกลุ่มกล้ามเนื้อทั้งหมดในสภาพการปฏิบัติงานหลังปรับปรุงมีค่าน้อยกว่า
สภาพการปฏิบัติงานก่อนปรับปรุงและเมื่อประเมินผลอัตราผลิตภาพ
พบว่าอัตราผลิตภาพในสภาพการปฏิบัติงานหลังปรับปรุงเพิ่มขึ้น 1.17 กิโลกรัมต่อคน-วัน โดยมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 6
เดือน
สรุป :
การปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานแบบงานนั่งด้วยการสร้างเก้าอี้และชั้นวางถาด
สามารถลดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานอีกทั้งเพิ่มผลผลิตด้วย
คำสำคัญ :
อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล EMGความเมื่อยล้าจากการทำงาน สถานีทำงานชีวกลศาสตร์
Credit :
วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 ก.ย. - ธ.ค. 2556