Prevalence
of Musculoskeletal Disorders Among Informal Sector Workers of Hand-Operated
Rebar Bender in Non-Sung District of Nakhon Ratchasima Province
วิวัฒน์
สังฆะบุตร (Wiwat Sungkhabut)1* ดร.สุนิสา
ชายเกลี้ยง (Dr.Sunisa Chaiklieng)**
1
Correspondent author: ph_academics@hotmail.com
* นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในแรงงานนอกระบบ
กลุ่มดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยก ซึ่งไม่รวมแรงงานต่างด้าว
กลุ่มตัวอย่าง : เป็นการสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 241 คน
การเก็บข้อมูล : ประยุกต์ใช้แบบสอบถามมาตรฐาน Standardized Nordic questionnaire ที่ได้แปลเป็นภาษาไทย ในการสัมภาษณ์ และประเมินความเหมาะสมของสถานีงาน
ผลการวิจัย :
ความชุกในรอบ 12 เดือนที่ผ่าน มาสูง 3
อันดับแรกคือในบริเวณข้อมือ/มือ ร้อยละ 78.8 (95% CI: 73.1,83.8) หลังส่วนล่าง ร้อยละ 68.9 (95% CI: 62.6,74.7) และไหล่
ร้อยละ 46.9 (95% CI: 40.5,53.4) ตามลำดับ
สำหรับในรอบ 7 วันที่ผ่าน มาพบความชุกสูงบริเวณเดียวกัน
โดยอาการปวดที่รบกวนการทำงานพบสูงสุดที่ข้อมือ หลังส่วนล่าง และคอ ตามลำดับ
ผลการประเมินความเหมาะสมของสถานีงานและแสงสว่างในการทำงานพบว่าไม่เหมาะสมใน
บางสถานีงาน
ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้าระวังโรคและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานในกลุ่มแรงงานที่ประกอบอาชีพดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยกได้
คำสำคัญ :
ความชุก ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ดัดเหล็กปลอกเสา
Credit : วารสารวิจัย มข. (บศ.) 13 (1) : ม.ค. - มี.ค. 2556